วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อุปกรณ์ควบคุมในระบบทางกล

อุปกรณ์ควบคุมในระบบทางกล

 

1.อุปกรณ์ควบคุมความดันสารทำความเย็น

ลิ้นลดความดันหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหล ลิ้นลดความดันหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหล (Expansion Valve) ลิ้นลดความดันหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหล (Expansion Valve) : ใช้ติดตั้งในระบบเพื่อควบคุมปริมาณสารทำความเย็นและลดความดันของสารทำความเย็นที่จะเข้าเครื่องระเหยน้ำยาอาจจะเป็นชนิดปรับด้วยมือ ชนิดอัตโนมัติ ชนิดควบคุมด้วยความร้อน ชนิดลูกลอย รวมทั้งชนิดท่อรูเข็ม เป็นต้น ในการศึกษาเพื่อทดสอบการทำงานของลิ้นลดความดัน จะเลือกใช้ลิ้นลดความดัน
ชนิดควบคุมด้วยความร้อนที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศรถยนต์เป็นตัวอย่างสำหรับการทดสอบ

2.อุปกรณ์ป้อง ความดันต่ำและความดันสูง HPS,LPC

 
สวิตซ์ควบคุมความดันด้านต่ำ (low pressure switch) สวิตซ์ควบคุมความดันด้านต่ำ ทำหน้าที่ควบคุมความดันด้านต่ำไม่ให้ต่ำเกินไป โดยอาศัยความดันของน้ำยาด้านความดันต่ำกระทำผ่านหน้าสัมผัส ตัดคอมเพรสเซอร์ให้หยุดทำงานเมื่อความดันต่ำกว่ากำหนด

สวิตซ์ควบคุมด้านความดันสูง (high pressure switch) สวิตซ์ควบคุมด้านความดันสูง ทำหน้าที่ควบคุมความดันด้านสูงไม่ให้สูงเกินกำหนด โดยอาศัยความดันของน้ำยาด้านความดันสูงกระทำผ่านหน้าสัมผัส ตัดคอมเพรสเซอร์ให้หยุดทำงานเมื่อความดันสูงเกินกำหนด
 

3.อุปกรณ์ป้องกันน้ำมันเข้าระบบ

 


สาเหตุที่ต้องทำท่อ Trap ในกรณีที่วางคอยล์ร้อนในตำแหน่งสูงเหนือคอยล์เย็น เนื่องจากอธิบายง่ายๆตามกฎของธรรมชาติ ที่กล่าวว่า "ของเหลวทุกชนิดจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ" ในระบบเครื่องทำความเย็นก็เช่นกัน น้ำมันที่อยู่ในคอมเพรสเซอร์อยู่ในสถานะของเหลว ซึ่งน้ำมันในคอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ในการระบายความร้อนให้คอมเพรสเซอร์ และ หล่อลื่นระบบทางกลหรือกลไกลในคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องทำงาน การดูดอัดสารทำความเย็นของคอมเพรสเซอร์ จะอัดน้ำมันที่อยู่ในตัวออกมาพร้อมสารทำความเย็นมาทางท่อทางอัด และดูดกลับเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ทางท่อทางดูด ในการติดตั้งโดยวิธีให้ชุดคอยล์ร้อนวางในตำแหน่งต่ำกว่าคอยล์เย็น น้ำมันหล่อลื่น ย่อมไหลกลับสู่คอมเพรสเซอร์ตามแรงดึงดูดอย่างง่ายดาย แต่หากการติดตั้งที่ต้องวางคอยล์ร้อนให้สูงเหนือคอยล์เย็น ถ้าหากไม่มีการทำท่อดักน้ำมันไว้น้ำมันก็จะไหลลงได้เช่นกันเพราะในระบบท่อนั้นเป็นสูญญากาศ แต่การไหลกลับจะไหลกลับไม่ทันต่อการระบายความร้อน เนื่องจากน้ำมันมีความหนืดและน้ำหนักมากกว่าสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นแก๊สในท่อทางดูด ทำให้การระบายความร้อนทำได้ไม่ดี มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อนจนถึงร้อนจัด
 
 
 

 4.อุปกรณ์ป้องกันน้ำแข้งอุดตันในระบบ(ชิลเลอร์)

 
 

ตัวรีซีฟเวอร์หรือดีไฮเดรเตอร์ Receiver / Dehydrator เป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบทำความเย็น บางครั้ง Load ของอีแวปปอเรเตอร์มากบ้างน้อยบ้าง ที่เป็นดังนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อนความชื้น และการสูญหายของสารทำความเย็นซึ่งอาจเกิดจากการรั่วเล็กๆ น้อยๆ ดังนั้นในระบบทำความเย็นจึงต้องมีถังสำหรับเก็บสารทำความ เย็นทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการชดเชยการสูญหายของสารทำความเย็น อุปกรณ์ชิ้นนั้นก็คือตัวรีซีฟเวอร์นั่นเอง

ตัวรีซีฟเว่อร์หรือตัวดีไฮเดรเตอร์ไดรเอ่อร์ปัจจุบันนี้บรรจุอยู่ในชุดเดียวกันและเรียกว่ารีซีฟเว่อร์
สารดูดความชื้น THE DESICCANT
สารดูดความชื้นนี้เป็นของแข็งเล็กๆ บรรจุอยู่ในตัวรีซีฟเวอร์ วัสดุที่ใช้ทำสารดูดความชื้นโดยมากใช้ เซลิก้าเจล Selica-Gel หรือ Mobil Oil สารดูดความชื้นนี้ถูกบรรจุอยู่ในรีซีฟเวอร์ ระหว่างกรองอันบนกับอันล่าง กรองทำหน้าที่เป็นตัวกรองสิ่งสกปรกในระบบ ความสามารถในการดูดความชื้นขึ้นอยู่กับความจุและปริมาตรของวัสดุที่ใช้ ตัวอย่างเช่น เซลิก้าเจล 5 คิวบิกนิ้วจะสามารถดูดและเก็บความชื้นของน้ำได้ 100 หยด ที่อุณหภูมิ 150° ฟ
ตัวกรอง THE FILTER
ตัวกรองนี้เป็นวัสดุที่ใส่ไว้ในที่สารทำความเย็นต้องผ่านก่อนที่จะออกจากตัวรีซีฟเวอร์ จุดมุ่งหมายของการมีกรอง เพื่อป้องกันสารเก็บ ความชื้นหรือของแข็งหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ หลุดออกไปกับสารทำความเย็น
 
 
 
 
 
 
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น