วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Ph diagramและไซโครเมตริก

1.Ph diagram

วัฏจักรของกำรท ำควำมเย็นบน p-h ไดอะแกรม



กระบวนกำรบน p-hไดอะแกรม

 • กระบวนการจาก 1-2 เป็ นกระบวนการอัดไอ อุปกรณ์คือ คอมเพรสเซอร์(compressor)
 • กระบวนการจาก 2-3 เป็ นกระบวนการควบแน่น อุปกรณ์คือ คอนเดนเซอร์ (condenser)
 • กระบวนการจาก 3-4 เป็ นกระบวนการทอตติง (throttling)อุปกรณ์คือ วาล์วขยาย (expansion valve)
 • กระบวนการจาก 4-1เป็ นกระบวนการระเหย อุปกรณ์คือเครื่องทำระเหย (evaporator



2.แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) เป็นแผนภูมิที่บอกถึงรายละเอียดของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำงานในสายงานเครื่องกล เช่น งานปรับอากาศและความเย็นคงจะรู้จักแผนภูมินี้ และการที่เราเข้าใจแผนภูมินี้จะทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของสภาวะของอากาศตลอดจนสามารถนำมาใช้งานและวิเคราะห์แก้ใขปัญหาในงานที่เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้น

ความสำคัญของอากาศและการใช้งาน    เชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักอากาศ (Air) กันเป็นอย่างดี อากาศมีอยู่ทุก ๆ ที่เราทุกคนใช้อากาศในการหายใจ อากาศเป็นตัวช่วยในการติดไฟของเชื้อเพลิงในการหุงต้มหรือในเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ในงานด้านวิศวกรรมและการผลิต อากาศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ รายละเอียดตลอดจนธรรมชาติของอากาศซึ่งถ้าเราจะอธิบายกันแบบลอย ๆ นั้นก็ยากที่จะเข้าใจแผนภูมิ (Chart) หนึ่งที่จะนำมาอธิบายคุณสมบัติของอากาศได้ดีก็คือแผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) ซึ่งในแผนภูมิดังกล่าวจะรวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ของอากาศให้ง่ายต่อการเข้าใจในรายละเอียด



คุณสมบัติสำคัญ ๆ ของอากาศ   ในงานทางวิศวกรรม เช่น งานปรับอากาศหรือทำความเย็นนั้นคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศเป็นสิ่งที่มีผลกับสิ่งที่เราต้องการควบคุม เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และอื่น ๆ บทความต่อไปนี้จะอธิบายถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศเพื่อให้เป็นที่เข้าใจอย่างง่าย ๆ ดังนี้

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อุปกรณ์ควบคุมในระบบทางกล

อุปกรณ์ควบคุมในระบบทางกล

 

1.อุปกรณ์ควบคุมความดันสารทำความเย็น

ลิ้นลดความดันหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหล ลิ้นลดความดันหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหล (Expansion Valve) ลิ้นลดความดันหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหล (Expansion Valve) : ใช้ติดตั้งในระบบเพื่อควบคุมปริมาณสารทำความเย็นและลดความดันของสารทำความเย็นที่จะเข้าเครื่องระเหยน้ำยาอาจจะเป็นชนิดปรับด้วยมือ ชนิดอัตโนมัติ ชนิดควบคุมด้วยความร้อน ชนิดลูกลอย รวมทั้งชนิดท่อรูเข็ม เป็นต้น ในการศึกษาเพื่อทดสอบการทำงานของลิ้นลดความดัน จะเลือกใช้ลิ้นลดความดัน
ชนิดควบคุมด้วยความร้อนที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศรถยนต์เป็นตัวอย่างสำหรับการทดสอบ

2.อุปกรณ์ป้อง ความดันต่ำและความดันสูง HPS,LPC

 
สวิตซ์ควบคุมความดันด้านต่ำ (low pressure switch) สวิตซ์ควบคุมความดันด้านต่ำ ทำหน้าที่ควบคุมความดันด้านต่ำไม่ให้ต่ำเกินไป โดยอาศัยความดันของน้ำยาด้านความดันต่ำกระทำผ่านหน้าสัมผัส ตัดคอมเพรสเซอร์ให้หยุดทำงานเมื่อความดันต่ำกว่ากำหนด

สวิตซ์ควบคุมด้านความดันสูง (high pressure switch) สวิตซ์ควบคุมด้านความดันสูง ทำหน้าที่ควบคุมความดันด้านสูงไม่ให้สูงเกินกำหนด โดยอาศัยความดันของน้ำยาด้านความดันสูงกระทำผ่านหน้าสัมผัส ตัดคอมเพรสเซอร์ให้หยุดทำงานเมื่อความดันสูงเกินกำหนด
 

3.อุปกรณ์ป้องกันน้ำมันเข้าระบบ

 


สาเหตุที่ต้องทำท่อ Trap ในกรณีที่วางคอยล์ร้อนในตำแหน่งสูงเหนือคอยล์เย็น เนื่องจากอธิบายง่ายๆตามกฎของธรรมชาติ ที่กล่าวว่า "ของเหลวทุกชนิดจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ" ในระบบเครื่องทำความเย็นก็เช่นกัน น้ำมันที่อยู่ในคอมเพรสเซอร์อยู่ในสถานะของเหลว ซึ่งน้ำมันในคอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ในการระบายความร้อนให้คอมเพรสเซอร์ และ หล่อลื่นระบบทางกลหรือกลไกลในคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องทำงาน การดูดอัดสารทำความเย็นของคอมเพรสเซอร์ จะอัดน้ำมันที่อยู่ในตัวออกมาพร้อมสารทำความเย็นมาทางท่อทางอัด และดูดกลับเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ทางท่อทางดูด ในการติดตั้งโดยวิธีให้ชุดคอยล์ร้อนวางในตำแหน่งต่ำกว่าคอยล์เย็น น้ำมันหล่อลื่น ย่อมไหลกลับสู่คอมเพรสเซอร์ตามแรงดึงดูดอย่างง่ายดาย แต่หากการติดตั้งที่ต้องวางคอยล์ร้อนให้สูงเหนือคอยล์เย็น ถ้าหากไม่มีการทำท่อดักน้ำมันไว้น้ำมันก็จะไหลลงได้เช่นกันเพราะในระบบท่อนั้นเป็นสูญญากาศ แต่การไหลกลับจะไหลกลับไม่ทันต่อการระบายความร้อน เนื่องจากน้ำมันมีความหนืดและน้ำหนักมากกว่าสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นแก๊สในท่อทางดูด ทำให้การระบายความร้อนทำได้ไม่ดี มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อนจนถึงร้อนจัด
 
 
 

 4.อุปกรณ์ป้องกันน้ำแข้งอุดตันในระบบ(ชิลเลอร์)

 
 

ตัวรีซีฟเวอร์หรือดีไฮเดรเตอร์ Receiver / Dehydrator เป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบทำความเย็น บางครั้ง Load ของอีแวปปอเรเตอร์มากบ้างน้อยบ้าง ที่เป็นดังนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อนความชื้น และการสูญหายของสารทำความเย็นซึ่งอาจเกิดจากการรั่วเล็กๆ น้อยๆ ดังนั้นในระบบทำความเย็นจึงต้องมีถังสำหรับเก็บสารทำความ เย็นทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการชดเชยการสูญหายของสารทำความเย็น อุปกรณ์ชิ้นนั้นก็คือตัวรีซีฟเวอร์นั่นเอง

ตัวรีซีฟเว่อร์หรือตัวดีไฮเดรเตอร์ไดรเอ่อร์ปัจจุบันนี้บรรจุอยู่ในชุดเดียวกันและเรียกว่ารีซีฟเว่อร์
สารดูดความชื้น THE DESICCANT
สารดูดความชื้นนี้เป็นของแข็งเล็กๆ บรรจุอยู่ในตัวรีซีฟเวอร์ วัสดุที่ใช้ทำสารดูดความชื้นโดยมากใช้ เซลิก้าเจล Selica-Gel หรือ Mobil Oil สารดูดความชื้นนี้ถูกบรรจุอยู่ในรีซีฟเวอร์ ระหว่างกรองอันบนกับอันล่าง กรองทำหน้าที่เป็นตัวกรองสิ่งสกปรกในระบบ ความสามารถในการดูดความชื้นขึ้นอยู่กับความจุและปริมาตรของวัสดุที่ใช้ ตัวอย่างเช่น เซลิก้าเจล 5 คิวบิกนิ้วจะสามารถดูดและเก็บความชื้นของน้ำได้ 100 หยด ที่อุณหภูมิ 150° ฟ
ตัวกรอง THE FILTER
ตัวกรองนี้เป็นวัสดุที่ใส่ไว้ในที่สารทำความเย็นต้องผ่านก่อนที่จะออกจากตัวรีซีฟเวอร์ จุดมุ่งหมายของการมีกรอง เพื่อป้องกันสารเก็บ ความชื้นหรือของแข็งหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ หลุดออกไปกับสารทำความเย็น
 
 
 
 
 
 
 

 

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ

คอยล์เย็นคืออะไร

คอยล์เย็น หรือ Evaporator คือส่วนประกอบของแอร์ อีกอย่างหนึ่งที่เราเห็นอยู่ภายในตัวอาคาร คุณสงสัยไหมว่า คอยล์เย็นคืออะไร ทำหน้าที่อะไร มีหลักการทำงานอย่างไร
คอยล์เย็นหรือ Evaporator[/caption]
หน้าที่ของคอยล์เย็นคือทำให้น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นเกิดการเดือดภายในท่อ และทำให้ของไหลที่ผ่านด้านนอกท่อเย็นตัวลง ซึ่งคอยล์เย็นแบบนี้มีชื่อเรียกว่า คอยล์เย็นแบบขยายตัวโดยตรง ซึ่งภายในคอยล์เย็นจะมีท่อที่ติดตั้งครีบระบายความร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อน คอยล์เย็นแบบขยายตัวโดยตรงที่ใช้งานกับระบบปรับอากาศ จะควบคุมอัตราการไหลของน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นโดยวาล์วขยายตัว เพื่อให้ไอสารทำความเย็นที่ออกจากคอยล์เย็นมีสภาวะเป็นไอร้อนยิ่งยวด
แต่ยังมีคอยล์เย็นอีกแบบหนึ่ง คือ แบบที่ทำให้สารทำความเย็นเหลวไหลเวียน หรือ ถูกดูดเข้าไปยังคอยล์เย็นที่ความดันและอุณหภูมิต่ำเป็นจำนวนมากอย่างเหลือเฟือ ซึ่งของเหลวบางส่วนจะเดือดไปในคอยล์เย็น แต่ยังคงเปียกและท่วมอยู่ที่ปากทางออก ส่วนที่เป็นของเหลวจะถูกแยกออก ยังคงเหลือเฉพาะส่วนที่เป็นไอไปเข้าคอมเพรสเซอร์ ในระบบทำความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำมาก ๆ มักจะใช้คอยล์เย็นแบบนี้ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบที่มีผิวภายในเปียกตลอดทั้งคอยล์เย็น และประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนสูงกว่า
หน้าที่ของคอลย์เย็นก็มีแค่นี้ครับ ส่วนข้อมูลเชิงลึกนั้นจะไม่ขอพูดถึงนะครับ ใครสนใจข้อมูลที่ลึกกว่านี้ ก็หาหนังสือมาศึกษาต่อครับ เพราะมันยาวมากๆ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

  • คอยล์เย็น
  • คอล์ยเย็น
  • คอยล์เย็น คือ
  • evaporator คืออะไร
  • ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ
  • ส่วนประกอบของแอร์บ้าน
  • คอยล์เย็นคือ
  • ราคาคอยล์เย็นแอร์บ้าน
  • ปัญหาแอร์บ้าน
  • คอยเย็น คือ

    คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่

    คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่เป็นคอมเพรสเซอร์แอร์ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กัน คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ทำงานอย่างไร แตกต่างจากคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบอย่างไร มาลองศึกษากันดูครับ
    คอมเพรสเซอร์แอร์บ้านโรตารี่
    คอมเพรสเซอร์แอร์บ้านโรตารี่
    คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ เป็นการออกแบบที่จะไม่มีลูกสูบในคอมเพรสเซอร์ แต่จะใช้สิ่งที่คล้ายๆใบพัดที่จะหมุนอยู่ภายในคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ เพื่อที่จะนำพาน้ำยาแอร์เข้าทางด้าน Suction และผลักออกมาทางด้าน Discharge. (โดยปกติน้ายาแอร์ในด้าน suction จะเป็นก๊าซ และเมื่อส่งผ่านให้ออกไปทางด้าน discharge ก็จะมีความดันมากขึ้น หลังจากนั้นน้ำยาแอร์สถานะก๊าซ ก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวอีกครั้งเมื่อผ่าน condensor อันนี้เป็น concept ของหน้าที่คอมเพรสเซอร์ครับ)
    ข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
    จากผลการทดลองของเมืองนอก โรตารี่สามารถสร้างความเย็นได้มากสุด โดยเทียบความจุต่อปอนด์ของคอมเพรสเซอร์ขนาดเท่ากันครับ
    ข้อเสียของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
    ซ่อมยาก หรือซ่อมไม่ได้เลยสำหรับช่างครับ แต่ถ้าเป็นคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบก็จะซ่อมได้ง่ายกว่าครับ
    แอร์ทุกเครื่องมีคอมเพรสเซอร์อยู่ภายใน ยุคแรกๆมีเฉพาะคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ แต่ในปัจจุบัน คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ และคอมเพรสเซอร์แอร์แบบสโกล์ โดยทั่วไป คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่จะทำงานเงียบและกินไฟน้อยกว่า จึงได้รับความนิยมมากขึ้น แต่จะมีขนาดจำกัด ส่วนคอมเพรสเซอร์แอร์แบบสโกล์ รุ่นใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม และมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นคอมเพรสเซอร์รุ่นใหม่ๆยังมักจะออกแบบให้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ปรับรอบหรืออินเวอร์เตอร์ด้วย

    เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

    • คอมเพรสเซอร์ แบบ ลูกสูบ
    • คอมเพรสเซอร์ แบบ โรตารี่
    • คอมเพรสเซอร์ แบบโรตารี่
    • ส่วนประกอบคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
    • ชนิดคอมเพรสเซอร์
    • หลักการทํางาน คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
    • คอมโรตารี่
    • คอมเพรสเซอร์โรตารี่ คือ
    • คอมแอร์แบบโรตารี่
    • คอมแอร์โรตารี่