วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

วิธีการต่อวงจรมอเตอร์คอมเพสเซอร์

วิธีการต่อวงจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์
11.3 วิธีการต่อวงจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์(compressor motor circuit)
คอมเพรสเซอร์ที่นิยมใช้ในเครื่องทำความเย็นทั่วไป คือ คอมเพรสเซอร์แบบหุ้มปิด(hermeticcompressor) การต่อวงจรมอเตอร์เพื่อใช้ขับคอมเพรสเซอร์สามารถต่อเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ดังนี้
11.3.1 แบบ RSIR (resistance start –induction run)
วงจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ RSIR ทำงานโดยอาศัยรีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยกระแส (Current relay) ขณะเริ่มทำงานรีเลย์จะต่อวงจรให้ทั้งขดลวดรันและขดลวดสตาร์ตครบวงจร สร้างแรงบิดมากพอให้คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานได้ หลังจากนั้นรีเลย์จะตัดวงจรเหลือขดลวดรันทำงานเพียงขดเดียว ใช้ได้เฉพาะคอมเพรสเซอร์ขนาดเล็ก เช่น ที่ใช้ในตู้น้ำเย็น ตู้เย็น ขนาดไม่เกิน 1/3 แรงม้า ซึ่งต้องการกำลังทั้งช่วงสตาร์ตและช่วงทำงานปกติไม่มากนัก

                                                                          รูปที่ 11.9 แสดงการต่อมอเตอร์ แบบ RSIR

11.3.2 แบบ CSIR(capacitor start-induction run)
CSIR เป็นการต่อวงจรมอเตอร์คล้ายกับแบบ RSIR ต่างกันเพียงการเพิ่มคาปาซิเตอร์แบบสตาร์ตต่ออนุกรมระหว่างหน้าสัมผัสของรีเลย์และขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ จึงให้แรงบิดในช่วงเริ่มต้นดีกว่าแบบ RSIR ส่วนช่วงทำงานปกติจะทำงานเหมือนกับแบบ RSIR ใช้งานในเครื่องทำความเย็นขนาดเล็กจนถึงขนาด 3/4 แรงม้า


                                                รูปที่ 11.10 แสดงการต่อมอเตอร์แบบ CSIR

11.3.3 แบบ PSC (permanent split capacitor)
การต่อวงจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ แบบ PSC ใช้คาปาซิเตอร์แบบรันต่ออนุกรมโดยถาวรกับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ คาปาซิเตอร์และขดลวดสตาร์ตจะต้องทำงานตลอดทั้งช่วงสตาร์ตและช่วงทำงานปกติโดยไมมีรีเลย์มาตัดวงจร ขณะทำงานจึงมีกระแสผ่านทั้งขดลวดรันและขดลวดสตาร์ต ทำให้มีกำลังขับดีกว่าแบบ RSIR และ CSIR ใช้ในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึง 5 แรงม้า โดยเฉพาะต้องเป็นระบบที่สามารถถ่ายเทความดันระหว่างด้านความดันสูงและความดันต่ำ (balance pressure) ได้ขณะคอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน เช่น ระบบที่ใช้ capillary tube



รูปที่ 11.11 แสดงการต่อมอเตอร์แบบ PSC

11.3.4 แบบ CSR (capacitor start and run)
CSR เป็นการต่อวงจรมอเตอร์คล้ายกับแบบ PSC ต่างกันเพียงการเพิ่มคาปาซิเตอร์แบบสตาร์ตต่ออนุกรมกับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ โดยมีรีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า(Potential relay) เป็นตัวตัดคาปาซิเตอร์ไม่ให้ทำงานหลังจากมอเตอร์เริ่มต้นทำงานและหมุนได้ความเร็วประมาณ 75 % ของความเร็วรอบปกติ เป็นมอเตอร์ที่ใช้กำลังช่วงเริ่มต้นดีกว่าแต่ช่วงปกติจะทำงานเหมือนกับแบบ PSC จึงถูกนำไปใช้กับระบบที่ไม่สามารถ balance pressure ขณะคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานได้ เช่น ระบบที่ใช้ลิ้นลดความดันชนิดthermostatic expansion valve

รูปที่ 11.12 แสดงการต่อมอเตอร์แบบ CSR



การต่อวงจรมอเตอร์ทั้ง 4 แบบ สามารถเลือกต่อวงจรให้เหมาะสมกับลักษณะงานได้ เช่น จากวงจรพื้นฐานแบบ RSIR สามารถปรับวงจรเป็นแบบ CSIR ได้ถ้าต้องการให้มอเตอร์ขนาดเล็กมีแรงบิดในช่วงเริ่มต้นทำงานดีขึ้น โดยการเพิ่มคาปาซิเตอร์แบบสตาร์ตในวงจร หรือวงจรพื้นฐานแบบ PSC สามารถปรับวงจรเป็นแบบ CSR ได้เช่นเดียวกันเมื่อต้องการให้มอเตอร์ขนาดใหญ่มีแรงบิดในช่วงเริ่มต้นดีขึ้น โดยการเพิ่มคาปาซิเตอร์แบบสตาร์ตและ potential relay มาต่อในวงจร ซึ่งเขียนเป็นวงจรเปรียบเทียบกันได้ดังรูปที่ 11.13







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น